“ความพอดี มีอยู่จริง”

เชื่อว่าหลายคนก็ถามหาสิ่งกันมามากมายในชีวิตตัวเอง
เพราะด้วยรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน
กับโลกที่วิ่งวนแข่งขันกันอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็น แข่งกันมีชีวิตที่ดี แข่งกันสวย แข่งกันรวย แข่งกันเด่นดัง
จนบางคร้ังทำให้เราเครียด เจ็บป่วย ท้อแท้
กว่าจะได้สิ่งเหล่านี้มาช่างยากเย็ญเหลือเกิน
เมื่อผ่านไปสักพักนึงเราก็จะพบว่า
ความพอดี ความลงตัว
เป็นอะไรท่ีหลายคนอยากได้มากกว่า
แต่ไม่รู้จะต้องทำยังไง
เราถึงจะพอดีลงตัวในชีวิตตัวเอง
ในวงการโยคะ
ถ้าเราได้เคยเข้ามาสัมผัสหรือลองฝึกก็จะพบว่า
เป้าหมายใหญ่ๆของเราก็คือ
ทำให้ร่างกายของเราสมดุลย์และมีความลงตัวในจิตใจ
ซึ่งผู้คนที่เข้ามาฝึก
ก็ย่อมอยากที่จะให้เราลงตัวในเรื่องสุขภาพ
เจ็บป่วยน้อยลงและก็อารมณ์ดีขึ้น
แต่ก็จะพบเลยว่า
มันไม่ง่ายเลยที่เราจะฝึกแล้วให้ได้แบบนั้นตลอดเวลา
เพราะตอนที่ทำท่าอาสนะต่างๆ
เรามักจะหาไม่เจอว่าพอดีอยู่ตรงไหน
เนื่องด้วยความคุ้นเคยจากโลกภายนอกที่เรามักจะทำให้มากๆไว้ก่อน ถือว่าดีกว่า เก่งกว่า
พอเรามาฝึกโยคะ
เราเลยนำจิตใจแบบนั้นเข้ามาฝึกด้วย โดยไม่รู้ตัว
ทำให้เวลาที่เราทำอาสนะ เราเลยอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บ
พลาดพลั้งจากการทำท่าแบบฝืนเกินไป
พยายามสูงเกินไป กดดันตัวเองเกินไป จนใจของเราก็ไม่สงบด้วย
จึงทำให้ เป้าหมายของการฝึกโยคะเพื่อความพอดีนั้น เลือนลาง…
ทำให้เราเลิกคิดที่จะฝึกต่อไปหรือมีข้ออ้างว่า
โยคะนี่ไม่เหมาะกับเราแน่ๆ
อยากจะชวนให้เราเข้าใจการฝึกและเข้าใจตัวเองก่อนว่า
ถ้าพวกเราลงตัวอยู่ สบายดีอยู่แล้ว พอดีกันอยู่แล้ว
ผมว่าโยคะจะไม่เกิดขึ้นบนโลกนี้แน่ๆ
โยคะเกิดมาบนโลกนี้
เพื่อให้คนวุ่นๆอย่างเราฝึกกันนี่หละครับ
ถูกแล้วที่เราจะมีอาการของความไม่ลงตัวอยู่บ้างในช่วงแรกๆ
ทำท่าเยอะไปบ้าง
จับความรู้สึกของกล้ามเนื้อไม่ทันบ้าง
คาดหวังสูงไปบ้าง
แต่ถ้าเราเปิดใจ อดทน
ค่อยๆใส่ความเข้าใจการฝึกไปวันละนิดวันละหน่อย
เราจะพบว่า การฝึกของเราดีขึ้น มั่นคงขึ้น
รู้สึกถึงว่าท่าทางต่างๆของเรา พอดีขึ้นเรื่อยๆ
จนทำให้การฝึกเกิดขึ้นแบบตรงเป้าหมายของโยคะมากขึ้น
เมื่อเราได้ทำให้กายและจิตเรา เห็นความพอดีขึ้นเรื่อยๆ
โลกภายนอกของเราที่เราเคยกดดันอยู่ตลอด
เราก็จะมีจิตใจและกายที่ฝึกมาแล้ว
ไปช่วยให้มัน เข้าที่เข้าทางมากขึ้นเอง
ขอให้ลองนำหลักการการนี้ไปไว้ฝึกในคลาสโยคะ
เพื่อจะได้พัฒนาความพอดีของเรา
ทั้งตอนฝึกและตอนมีชีวิตข้างนอกด้วย
หลักการมีอยู่ว่า เมื่อทำท่า จงสังเกตุว่า
กล้ามเนื้อของเราต้องไม่สั่นเทิ้มเกินไป
ลมหายใจของเราจะต้องราบรื่นอยู่ได้ในทุกๆท่า
และไม่อึดอัดหรือมีการเบียดแย่งลมหายใจของรอบถัดไป
ถ้าเราสังเกตุแล้วเราพยายามประคองการฝึกให้อยู่ในหลักการนี้
เราจะเริ่มเห็นความ พอดี ลงตัวในท่ามากขึ้นเอง
เห็นความพอดีในลมหายใจของเรา
และสุดท้ายเราก็จะเห็นว่า จิตใจของเราเอง ก็พอดี
ลงตัวอยู่กับปัจจุบันเช่นเดียวกัน
จนเมื่อจิตและกายชำนาญในความพอดีอยู่ตลอด
วิถีชีวิตของเราที่เคยไม่ลงตัว
เราก็จะมีตัวสติเตือนให้ปรับกลับมาพอดี ลงตัวเองได้ครับ
ลองนำไปปรับใช้กันดูครับ
โดยเริ่มจากท่าง่ายๆก่อน
แล้วค่อยๆสังเกตเห็นตัวเองตลอดการฝึกในลำดับถัดไป
และสุดท้ายอย่าลืมไปสังเกตุตัวเองภายนอกเสื่อกันด้วยนะครับ
กาย ใจ ดี ชีวี มีสุข My Peace Yoga … Namaste’
yoga #mypeaceyoga #mindfulnessyoga #asana
yogateachertraining #bangkok #thailand #teachertraining #โยคะ